อิสลามกับอารยธรรมสมัยใหม่

“โครงการจัดพิมพ์หนังสือเก่าร่วมสมัย” ลำดับที่ 2

อิสลามกับอารยธรรมสมัยใหม่” (ผนวกเรื่อง อิสลามในแง่ประวัติศาสตร์)
สัยยิด อบุลอะอฺลา เมาดูดีย์ เขียน

ข้อเขียนของปราชญ์ชราผู้ยิ่งใหญ่ ที่พยายามฉายภาพความล้มเหลวของระบอบการปกครองที่มนุษย์เป็นผู้สร้าง และยังได้นำเสนอระบอบการปกครองเก่าที่เคยนำพาความรุ่งเรืองมาแก่มนุษยชาติ นั่นก็คือ ระบอบคิลาฟะฮฺ แก่มนุษย์ในยุคปัจจุบัน ได้อย่างน่าลิ้มลองตามสไตล์ปราชญ์ผู้รอบรู้

อิสลามกับอารยธรรมสมัยใหม่” เป็นงานเขียนสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของท่านเมาดูดีย์ ปราชญ์ชราผู้ผ่านพ้นคุกมืด การทรมาน และโทษประหาร มานักต่อนัก มาวันนี้ หน้าที่ของท่านได้สิ้นสุดลงไปแล้วพร้อมกับการเรียกชีวิตกลับของอัลลอฮฺ ผู้เป็นนายแห่งชีวิตมนุษย์ (ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่านเมาดูดีย์)แต่เรานี่ละ… ที่ยังไม่พ้นหน้าที่นี้ จะพยายามทำหน้าที่ๆติดตัวมากับคำว่ามุสลิมนี่ หรือไม่อยากทำแล้วค่อยไปตีหน้าเศร้าลิสต์ข้ออ้างต่อหน้าอัลลอฮฺในวันกียามัต จะยังไงนั้น คิดเอาเองเถิด…——–หนังสือนี้ พิมพ์เนื่องในวาระสำคัญ จำนวนไม่มาก
68 หน้า กระดาษถนอมสายตา.. 70 บาทครับ

ใครใคร่อ่าน ติดต่อมาได้เล้ยยยย!

———

-คำนำ-

หลายคนเกิดมาพร้อมกับสถานะของการเป็นมุสลิม และเติบโตมากับสถานะนั้น แต่เขากลับเลือกที่จะคลั่งไคล้ในชาติพันธุ์ของตัวเองจนถึงกับดูถูกชาติพันธุ์ที่แตกต่างจากเขา เขาจะเชื่อว่าประชาธิปไตยคือคำตอบของทุกปัญหา จนเมื่อไหร่ที่เขาพบเจอกับปัญหา เขาก็มักจะเสนอทางออกด้วยวิธีที่เขาคิดว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เขาคิดว่าศาสนาไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่า การปฏิบัติศาสนกิจ เพียงแค่เขาปฏิบัติให้ครบถ้วน นั้นก็เพียงพอแล้วที่จะประคับประคองเขาให้เป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ และคิดไปว่าเรื่องที่นอกเหนือจากศาสนกิจ เขาจะคิดและจะทำอะไรก็ได้

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็น นักคิด นักเขียน และนักฟื้นฟูอิสลามร่วมสมัย ที่ต้องเผชิญกับสภาพปัญหาที่มุสลิมต้องเผชิญหน้ากับยุคสมัยของมนุษยนิยม และเสรีนิยม ยุคสมัยหลังจากที่ศาสนาคริสต์ได้ล่มสลายไป เพราะพฤติกรรมการแสวงหาผลประโยชน์ของบรรดานักบวชจอมปลอม จนทำให้คริสตศาสนากลายเป็นศาสนาที่เหลือเพียงแต่รูปร่างไร้ซึ่งจิตวิญญาณ นำมาสู่ความเชื่อใหม่ที่พยายามลดอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า และเพิ่มอำนาจของมนุษย์ (มนุษยนิยม) และเชื่อว่ามนุษย์ย่อมมีเสรีภาพที่คิดจะทำอะไรก็ได้ ตราบใดที่มันไม่ส่งผลกระทบในทางที่ไม่ดีต่อมนุษย์ผู้อื่น (เสรีนิยม) โดยลืมไปว่าสิทธิของมนุษย์นั้นเป็นสิทธิของพระผู้เป็นเจ้า แนวคิดเหล่านี้ถูกสะท้อนและแปรรูปออกมาเป็นผลผลิตหลายรูปแบบ ทั้งระบอบการปกครอง ระบอบเศรษฐกิจ ระบอบการศึกษา ฯลฯ และพยายามที่จะเรียกผู้ที่ตามและยอมรับรูปแบบนั้นว่า อารยชน (ชนที่มีอารยธรรม) และผลักใสผู้ที่ไม่ยอมรับให้กลายเป็น อนารยชน(ชนที่ไม่มีอารยธรรม) จนมุสลิมจำนวนมากที่ไร้เดียงสา พลอยที่จะชมชอบรูปแบบเหล่านั้น โดยลืมและไม่เข้าใจว่าถ้าเราเลือกอิสลามแล้ว รูปแบบเหล่านั้น อยู่ตรงข้ามกับสิ่งที่เราเลือก และเหนือสิ่งอื่นใด อิสลามนั้นคือ อารยธรรม

ผู้เขียนได้เลือกที่จะอภิปราย ลัทธิประชาธิปไตย ลัทธิชาตินิยม และ ลัทธิเซคคิวลาร์ ในเรื่องรากเหง้าความเป็นมา ผลกระทบ หลักการอิสลามและจุดยืนที่ถูกต้องของมุสลิมต่อลัทธิเหล่านั้น ทีมงานหวังว่า ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ จะสามารถเพิ่มความเข้าใจ และเสริมสร้างเกราะกำบัง ในการป้องกันความเชื่อและความเข้าใจที่บ่อนทำลายความเป็นมุสลิมที่แท้จริง และไม่ตกเป็นเครื่องมือของซัยตอนมารร้าย

กระหม่อม

———

-หมายเหตุ จากคณะผู้จัดทำ อัล-ญิฮาด-

ก่อนหนังสือที่อยู่ในมือของท่านนี้จะพิมพ์เสร็จ ก็ได้ข่าวว่า ท่านสัยยิด อบุลอะลา เมาดูดีย์ ก็ได้สิ้นชีวิตไปแล้วที่สหรัฐอเมริกา ท่านสิ้นชีวิตเมื่อวันที่  23  กันยายน  ค.ศ.1979  ขณะกำลังรักษาตัวอยู่ที่นั่น

การจากไปของท่าน ทำให้โลกมุสลิมขาดนักคิด นักต่อสู้  นักวิชาการ และนักเขียนไปอีกท่านหนึ่ง ความหวังแห่งชีวิตของท่านในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่คงยังไม่บรรลุถึง  100% เต็ม แต่ผลของการต่อสู้ของท่านที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและไม่มีการท้อถอย หรือหยุดชะงัก แม้จะถูกกดดันด้วยการถูกจำคุกตัดสินประหารชีวิตนั้น ผลงานเหล่านั้น เราสามารถศึกษาได้อย่างมากมาย

ที่จริงถ้ามิใช่ด้วยการช่วยเหลือของอัลลอฮฺ สุบหาฯ ท่านคงสิ้นชีวิตใน ค.ศ.1953  ไปแล้ว เพราะท่านถูกพิพากษาโดยรัฐบาลปากีสถานในสมัยนั้นให้ประหารชีวิต อัลหัมดุลิลลาฮฺ คำพิพากษานั้นไม่ทันได้รับการปฏิบัติ ก็มีเหตุการณ์ผันแปรจนท่านได้รับการตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต แต่ต่อมาไม่นานท่านก็ได้รับการปลดปล่อยออกมา  และได้ดำเนินการต่อสู้ในวิถีทางของอิสลามต่อไป

ในขณะได้รับทราบคำพิพากษาให้ประหารชีวิตดังกล่าวนั้น  ทางการได้ให้โอกาสแก่ท่านเพื่อให้ท่านฎีกาลดหย่อนผ่อนโทษจากประธานาธิบดีแห่งปากีสถาน แต่ท่านกล่าวยืนยันอย่างหนักแน่นว่า

“ข้าพเจ้า ขอมอบชีวิตและร่างกายของข้าพเจ้าแด่อัลลอฮฺ ดีกว่าที่จะขอต่อผู้มีอำนาจเผด็จการที่ อยุติธรรม ถ้าเป็นพระประสงค์ของพระองค์ ข้าพเจ้าพร้อมที่จะมอบชีวิตและร่างกายของข้าพเจ้า แต่ถ้ามิใช่พระประสงค์ของพระองค์ ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะถูกตัดสินอย่างไร หรือพวกเขาจะทำอย่างไรต่อตัวข้าพเจ้า ก็ไม่มีทางที่พวกเขาจะสามารถกระทำต่อตัวข้าพเจ้าได้”

นับเป็นคำพูดจากมุสลิมคนหนึ่ง ที่เชื่อมั่นในอัลลอฮฺ อย่างแท้จริง… ถูกของท่าน! ท่านถูกจำคุก ไม่นานก็ได้รับอิสระ

ท่านเขียนหนังสือตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก เนื่องจากบิดาของท่านได้สิ้นชีวิตก่อนที่ท่านจะเรียนจบ ท่านจึงต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นนักหนังสือพิมพ์ ขณะนั้นท่านอายุ 17 ปี ท่านจึงเรียนในโรงเรียนจบแค่ชั้นมัธยมเท่านั้น สองปีต่อมาท่านถูกแต่งตั้งให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ (ตาจญ์)

ใน ค.ศ.1937 ดร.มุหัมมัด อิกบาล  มหากวีแห่งบูรพาทิศได้มีจดหมายถึงท่าน เชิญชวนให้ท่านย้ายไปอยู่ที่ปันจาบเพื่อ
ทำงานด้วยกัน  ต่อมาท่านก็ย้ายไปอยู่ที่นั่นตามคำเชิญชวนของอิกบาล แต่น่าเสียดาย สัยยิด อบุลอะลา เคยกล่าวไว้ว่า “ในเวลานั้นท่าน (อิกบาล) กำลังใช้ชีวิตในช่วงสุดท้าย หนึ่งเดือนหลังจากนั้นท่านก็จากไป ทิ้งให้ข้าพเจ้าทำงานอย่างโดดเดี่ยวเพื่อทำหน้าที่วางพื้นฐานที่เราทั้งสองได้ตัดสินไว้แล้ว”

ท่านเคยเป็นคณบดีคณะอุศูลุดดีน แห่งอิสลามียะฮฺ คอลเลจ เกือบสองปี ต่อมาก่อตั้งพรรค “ญะมาอัต อิสลามี” ในปี ค.ศ.1941 ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ต่อสู้เพื่ออิสลาม

ท่านเขียนหนังสือมากกว่า 130 เล่มและได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆหลายเล่ม อินชาอัลลอฮฺ เราจะพยายามแปลผลงานของท่านออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อให้พวกเราที่อยู่ในประเทศซึ่งขาดแคลนหนังสือเกี่ยวกับศาสนาอิสลามนี้ เพื่อให้พวกเราเปิดหูเปิดตา และรับรู้ด้วยว่ามุสลิมได้ดำเนินไปถึงไหนแล้ว ทั้งนี้เพื่อเราจะได้ดำเนินไปให้อยู่ในแถวเดียวกันกับบรรดาผู้กำลังดำเนินไปข้างหน้าทั้งหลาย

วะบิลลาฮิเตาฟีก วัลฮิดายะฮฺ,วัสสะลามุ อะลัยกุมฯ

คณะผู้จัดทำ อัล-ญิฮาด เล่มพิเศษ

21 พฤศจิกายน 2522/1 มุหัรร็อม 1400

———

-โครงการ จัดพิมพ์หนังสือเก่าร่วมสมัย-

นับตั้งแต่พวกเราได้ก้าวเข้าสู่วงการช่างทำหนังสือ เรามีความเชื่อมั่นอยู่เสมอว่า หนังสือคือสิ่งประดิษฐ์ที่น่าทึ่งและน่าอัศจรรย์ที่สุดในประดาสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายแหล่ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นตลอดช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าหนังสือ อาจมิได้เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิตมนุษย์ก็ตาม แต่สิ่งประดิษฐ์นี้กลับมีอายุยาวนานและเป็นเครื่องมือสำหรับกลุ่มชนในประวัติศาสตร์หลายต่อหลายกลุ่มทีเดียว ที่ใช้มันเป็นอาวุธทางความคิดเพื่อเดินเครื่องอุดมการณ์อันบรรจุความใฝ่ฝันสูงสุดไว้ในนั้น

อิสลามเป็นศาสนาแห่งวิชาการ มีเหตุและผลที่ครบถ้วนจากอัลลอฮฺ ผู้เป็นเจ้าของสวนสวรรค์ในโลกหน้า ประวัติศาสตร์อิสลามเดินเครื่องด้วยหนังสือเล่มเดียวและอีกหลายเล่มข้างเคียงตลอดมา อัลกุรอานเคยถูกชูขึ้นเหนือศรีษะของเหล่าบรรพชนอิสลามผู้ออกสู่สมรภูมิรบ ในกลางคืน พวกเขาศึกษาข้อเขียนที่บรรจุอยู่ในนั้น ทำความเข้าใจกับมัน และจักไม่ยอมปล่อยให้เพียงบรรทัดเดียวภายในนั้นหลุดห้วงไปจากความคิดและความทรงจำ จนกว่าพวกเขาจะนำข้อความนั้น มาปฏิบัติ เรายังมีบรรดาหนังสือหะดีษเล่มโตซึ่งบันทึกคำพูดของท่านนบี เป็นของขวัญอันล้ำค่ายังไม่นับตำรามากมายของเหล่าอุลามาอฺ ซึ่งแม้แต่หนังสือ “ฟาตาวา อัลกุบรอ” หนังสือฟัตวาปัญหาศาสนาเล่มใหญ่ของชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ อุลามาอฺมุญาฮิดีนคนสำคัญในอดีตก็ยังถูกใช้อ้างอิงและผลิตซ้ำจนถึงยุคปัจจุบัน

โครงการจัดพิมพ์หนังสือเก่าในอดีต ถือเป็นการซื้อขายครั้งสำคัญสำหรับพวกเรากับอัลลอฮฺ เพื่อแลกกับสวนสวรรค์อันเป็นสุดยอดสินค้าในโลกหน้า หนังสือเก่าในอดีตบางเล่มซึ่งไม่มีการผลิตซ้ำแล้วนั้น บรรจุไว้ซึ่งเนื้อหาสาระที่ยังคงทันสมัย และควรอย่างยิ่งที่พี่น้อง โดยเฉพาะเหล่าเยาวชนร่วมสมัยกับพวกเรา ควรที่จะหยิบมาอ่าน และทบทวนรสชาติอันหอมหวาน ความขมขื่น และความฮึกเหิมนั้นอีกครั้ง หลังจากที่มันถูกลืมเลือนด้วยกาลเวลาและความไม่เอาไหนของเยาวชนรุ่นเรา

หนังสือบางเล่มมีชีวิต ในนั้นมีรอยยิ้มและความเศร้าของเหล่าบรรพชนผู้รักอิสลาม เราจึงขายโครงการนี้แด่อัลลอฮฺ และหวังว่าผู้อ่านจะร่วมกันเดินเคียงข้างไปกับเรา ติดตามเล่มต่อไปในคราวหน้า ด้วยใจรักในอิสลาม อินชาอัลลอฮฺ

หมีมลายู
โครงการจัดพิมพ์หนังสือเก่าร่วมสมัย

คำนำโครงการ ‘จัดพิมพ์หนังสือเก่าร่วมสมัย’

 

 

นับตั้งแต่พวกเราได้ก้าวเข้าสู่วงการช่างทำหนังสือ เรามีความเชื่อมั่นอยู่เสมอว่า หนังสือคือสิ่งประดิษฐ์ที่น่าทึ่งและน่าอัศจรรย์ที่สุดในประดาสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายแหล่ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นตลอดช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าหนังสือ อาจมิได้เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิตมนุษย์ก็ตาม แต่สิ่งประดิษฐ์นี้กลับมีอายุยาวนานและเป็นเครื่องมือสำหรับกลุ่มชนในประวัติศาสตร์หลายต่อหลายกลุ่มทีเดียว ที่ใช้มันเป็นอาวุธทางความคิดเพื่อเดินเครื่องอุดมการณ์อันบรรจุความใฝ่ฝันสูงสุดไว้ในนั้น

อิสลามเป็นศาสนาแห่งวิชาการ มีเหตุและผลที่ครบถ้วนจากอัลลอฮฺ ผู้เป็นเจ้าของสวนสวรรค์ในโลกหน้า ประวัติศาสตร์อิสลามเดินเครื่องด้วยหนังสือเล่มเดียวและอีกหลายเล่มข้างเคียงตลอดมา อัลกุรอานเคยถูกชูขึ้นเหนือศรีษะของเหล่าบรรพชนอิสลามผู้ออกสู่สมรภูมิรบ ในกลางคืน พวกเขาศึกษาข้อเขียนที่บรรจุอยู่ในนั้น ทำความเข้าใจกับมัน และจักไม่ยอมปล่อยให้เพียงบรรทัดเดียวภายในนั้นหลุดห้วงไปจากความคิดและความทรงจำ จนกว่าพวกเขาจะนำข้อความนั้น มาปฏิบัติ เรายังมีบรรดาหนังสือหะดีษเล่มโตซึ่งบันทึกคำพูดของท่านนบี เป็นของขวัญอันล้ำค่ายังไม่นับตำรามากมายของเหล่าอุลามาอฺ ซึ่งแม้แต่หนังสือ “ฟาตาวา อัลกุบรอ” หนังสือฟัตวาปัญหาศาสนาเล่มใหญ่ของชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ อุลามาอฺมุญาฮิดีนคนสำคัญในอดีตก็ยังถูกใช้อ้างอิงและผลิตซ้ำจนถึงยุคปัจจุบัน

โครงการจัดพิมพ์หนังสือเก่าในอดีต ถือเป็นการซื้อขายครั้งสำคัญสำหรับพวกเรากับอัลลอฮฺ เพื่อแลกกับสวนสวรรค์อันเป็นสุดยอดสินค้าในโลกหน้า หนังสือเก่าในอดีตบางเล่มซึ่งไม่มีการผลิตซ้ำแล้วนั้น บรรจุไว้ซึ่งเนื้อหาสาระที่ยังคงทันสมัย และควรอย่างยิ่งที่พี่น้อง โดยเฉพาะเหล่าเยาวชนร่วมสมัยกับพวกเรา ควรที่จะหยิบมาอ่าน และทบทวนรสชาติอันหอมหวาน ความขมขื่น และความฮึกเหิมนั้นอีกครั้ง หลังจากที่มันถูกลืมเลือนด้วยกาลเวลาและความไม่เอาไหนของเยาวชนรุ่นเรา

หนังสือบางเล่มมีชีวิต ในนั้นมีรอยยิ้มและความเศร้าของเหล่าบรรพชนผู้รักอิสลาม เราจึงขายโครงการนี้แด่อัลลอฮฺ และหวังว่าผู้อ่านจะร่วมกันเดินเคียงข้างไปกับเรา ติดตามเล่มต่อไปในคราวหน้า ด้วยใจรักในอิสลาม อินชาอัลลอฮฺ

ภาพ:หน้าปกนิตยสารสานแสงอรุณ

หมีมลายู
โครงการจัดพิมพ์หนังสือเก่าร่วมสมัย

หนังสือ ‘การศึกษาในอิสลาม’

สมิอฺนาทำเรื่องอีกแล้ว!!

“โครงการจัดพิมพ์หนังสือเก่าร่วมสมัย” ลำดับที่ 1

‘อัตตัรบิยะตุลอิสลามมิยะฮฺ’ (พ.ศ.2521)
หรือ ‘การศึกษาในอิสลาม’
ศ.ดร.มุหัมมัด อะฏียะฮฺ อัลอิบรอชี เขียน
บรรจง บินกาซัน แปล

–ครูแบบไหนกัน ที่สร้างเหล่าเศาะฮาบะฮฺ ผู้พร้อมจะปกป้องมุหัมมัด
จากคมดาบคมธนู และโรงเรียนแบบไหนกัน ที่สร้างบรรดาเศาะฮาบิยะฮฺ
ผู้ปฐมพยาบาลทหารมุสลิมในสมรภูมิรบ อย่างกล้าหาญ…–

—–

-คำนำ-

บรรดาการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ พระผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลจักรวาล และขอความสันติจงมีแด่บรรดารสูลของพระองค์

นักการศึกษาและนักประวัติศาสตร์มิอาจปฏิเสธได้เลยว่า การศึกษาของอิสลามนั้นเป็นที่มาของรากอารยธรรมของคนมุสลิม อุดมการณ์ทางการศึกษาของอิสลามนั้นเป็นอุดมการณ์ที่นักการศึกษาสมัยนี้กำลังใฝ่ฝันกันอยู่ อิสลามให้ความสำคัญกับการศึกษาจนถึงกับถือว่า การศึกษานั้นเท่ากับการทำความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า อิสลามเน้นการศึกษาทุกประเภท ทั้งทางโลกและทางธรรม อิสลามกำหนดว่า ไม่ว่าคนรวยหรือคนจนย่อมมีโอกาสที่จะศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นใดก็ตาม และถือว่าเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ไม่ว่าชายหรือหญิงที่จะต้องการแสวงหาความรู้

โรงเรียน มัสญิด สถาบันการศึกษา ห้องสมุด การสนทนาสมาคมทางวิชาการ สิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องเปิดโอกาสให้กับบรรดาผู้ที่แสวงหาความรู้ และศึกษาวิจัยเสมอ รัฐจำเป็นจะต้องจัดหาสิ่งที่จำเป็น อาทิ อาหาร ที่อยู่อาศัย  การรักษาพยาบาล และการเงินแก่พวกที่ทำการศึกษาเพื่อพวกเหล่านี้จะได้ทุ่มเทเวลาให้กับการศึกษาได้อย่างเต็มที่

เราไม่ได้โอ้อวดว่า หลักการศึกษาสมัยใหม่ที่เราป่าวร้องกันอยู่ในกลางศตวรรษที่ 20 และยังไม่สามารถทำได้นั้นได้ลอกเลียนแบบการศึกษาในยุคทองของอิสลาม เมื่อหลายร้อยปีก่อนหน้าที่การศึกษาสมัยใหม่จะเป็นรูปเป็นร่างเสียอีก

อุดมการณ์ทางการศึกษาอย่างหนึ่งของอิสลามก็คือการศึกษาอบรมให้มีอิสระ และเชื่อมั่นในตนเองในการแสวงหาความรู้ และมีเสรีภาพในการศึกษา อิสลามยอมรับว่าเด็กแต่ละคนนั้นมีความสามารถทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นอิสลามจึงได้จัดการศึกษาไว้ให้แก่เด็กตามกำลังสติปัญญาของแต่ละคน อีกทั้งยังให้ความสำคัญในการทัศนศึกษา การฝึกพูด การอภิปราย และการใช้ภาษาอีกด้วย ห้องสมุดหลายแห่งได้จัดหาหนังสือที่มีค่ารวมทั้งข้อมูลต่างๆที่หายากมาไว้บริการแก่นักศึกษาด้วย ดังนั้น นักศึกษาจึงได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่หาค่ามิได้เหล่านี้เพื่อค้นคว้าวิจัยและศึกษาเพิ่มเติม “จากเปลจนถึงหลุมฝังศพ”

มิใช่เรื่องแปลกเลย ถ้าจะกล่าวว่า ระบบการศึกษาปัจจุบัน ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้ลอกเลียนแบบมาจากสถาบันการศึกษาอิสลามในยุคทองทั้งสิ้น การศึกษาในปัจจุบันถูกจำกัดโดยการเมือง ประกาศนียบัตรหรือโดยการวัดผล แต่ประตูมัสญิดนั้นเปิดกว้างเสมอสำหรับผู้ปรารถนาจะศึกษาหาความรู้

เป็นที่น่าเสียใจว่า ในยุคกลาง นักประวัติศาสตร์มุสลิม อาลักษณ์ นักกฎหมาย และนักปราชญ์ไม่สามารถที่จะรวบรวมเรื่องราวสำคัญๆเกี่ยวกับการศึกษาของอิสลามไว้ได้ ในขณะที่พวกเขาเหล่านั้นเขียนหนังสือบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมอิสลาม ชัยชนะทางการทหาร ศาสนา กิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอิสลามได้อย่างละเอียดลออ ถ้าใครได้อ่านหนังสือเรื่อง “นิซอมอัล-มุลกฺ” หรือ”เศาะลาฮุด-ดีนอัล-อัยยูบี”(ซาลาดิน) แล้ว จะพบว่าในหนังสือเล่มนั้นจะให้รายละเอียดอย่างมากมายเกี่ยวกับชีวประวัติบุคคลสำคัญๆ ผลงานทางการเมือง และการทหาร ในขณะที่จะพบเรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียน ศูนย์กลางการศึกษา และปฏิรูปทางการศึกษาอยู่น้อยเต็มที จึงทำความลำบากแก่นักเขียนทางด้านทางการศึกษาของอิสลามอย่างมากในการที่จะศึกษาหลักฐาน เขาอาจจะได้อ่านวรรณกรรมอาหรับโบราณ ผลงานทางประวัติศาสตร์ และการเมือง แต่น้อยนักที่จะได้พบเรื่องราวเกี่ยวกับครูและนักเรียน หรือ สิ่งที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการศึกษา

แม้กระนั้นก็ดี ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ชาวตะวันมิได้เป็นหนี้บุญคุณชาวอาหรับและมุสลิม อารยธรรมและวิทยาการของอาหรับและมุสลิมมีอิทธิพลอย่างมากต่อการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของชาวยุโรป การศึกษาและวัฒนธรรมของชาวอาหรับ และศิลปะตะวันออกนั้น หลังจากที่มันได้เจริญรุ่งเรือง อันเป็นผมเนื่องมาจากความพยายามของปราชญ์อิสลามแล้ว ก็ได้ถูกนำไปยังยุโรปในยุคมืด การศึกษาของอิสลามมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อการส่งเสริมการศึกษาทุกรูปแบบ เนื่องจากการนำเอาหลักการทางศาสนาและจริยธรรมมาใช้ การศึกษาของอิสลามจึงเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคมในแง่มุมต่างๆของชีวิตมนุษย์ เช่น ภราดรภาพ อิสรภาพ ความยุติธรรม โอกาสที่เท่าเทียมกันตลอดจนความเป็นเอกภาพทางด้านจิตวิญญาณของชาวมุสลิมในอาณาจักรอิสลามอันกว้างใหญ่ไพศาล นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะการศึกษาของอิสลามในยุครุ่งโรจน์นั้นวางรากฐานอยู่บนหลักการที่ดีงามเหล่านี้นี่เอง

ข้าพเจ้าแน่ใจว่า “การศึกษาในอิสลาม” คงได้รับความสนใจของคนในยุคสมัยนี้บ้าง แม้จะเป็นความพยายามอันเล็กน้อย แต่ข้าพเจ้าก็คิดว่า ข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่แห่งอิสลามแล้ว และหวังว่าผู้อ่านคงจะพบสิ่งหนึ่งส่งใดที่ท่านสนใจ และทำการค้นคว้าต่อไป ท้ายสุดนี้ ข้าพเจ้าขอให้อิสลามกลับมารุ่งโรจน์เหมือนในอดีตที่สูงส่งอีกครั้ง

ผู้เขียน

—–

 

-คำนิยม-

การศึกษาคือกระดูกสันหลังของศาสนา คือแร่ธาตุอันสำคัญยิ่งของอารยธรรมอิสลาม คือนวัตกรรมทางวิชาการที่มหัศจรรย์มากที่สุด และคือเครื่องมือที่จะนำพาอิสลามทะยานไปข้างหน้าได้อย่างไร้ขีดจำกัดด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ

อัลฮัมดุลิลลาฮ์ เมื่อน้องๆทีมงานวารสารสมิอฺนาฯได้เชิญชวนผมให้ช่วยเขียนคำนิยมให้หนังสือเล่มนี้เพื่อประกอบการจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ เพราะเป็นหนังสือที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าซึ่งหาอ่านยากอีกเล่มหนึ่ง ในบรรดาหนังสือที่ทรงคุณค่าซึ่งหมดไปจากท้องตลาดมานานหลายปีแล้ว

เมื่อครั้งที่ผมได้รับการเชิญบรรยาย หรือการพูดคุยในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาในอิสลาม หรือแม้กระทั่งในเรื่องที่เกี่ยวกับการตัรบียะฮ์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ผมสนใจมาตลอดในช่วงเกือบสามสิบปีที่ผ่านมา และต้องมองหาข้อมูลเพื่อประกอบการบรรยาย การเสวนาหรือการอภิปรายในเรื่องดังกล่าว ผมมักจะนึกถึงเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เสมอ เพราะผมจำได้ว่าเป็นหนังสือที่ผมชอบและเคยอ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 แต่มันได้เดินทางออกไปจากหิ้งหนังสือผมไปอยู่ที่อื่นเสียนานมากแล้ว จนจำไม่ได้ว่าพี่น้องท่านใดที่เอาไปอ่านค้นคว้าคนสุดท้าย

เนื้อหาสาระและประเด็นที่ผู้เขียนนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ยังมีความใหม่และสดอยู่เสมอมิเสื่อมคลาย หรือมิได้ด้อยค่าตามกาลเวลาเลย แต่กลับสะท้อนให้เราเห็นว่านับวันเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ได้ฉายแสงแห่งความจริงแท้มากขึ้นถึงสัจจะความจริงในเรื่องการศึกษาในอิสลามดังกล่าว

สิ่งที่ทำให้หนังสือมีความน่าอ่านและน่าสนใจไม่แพ้กันก็คือท่านผู้แปล ซึ่งอาจารย์บรรจง บินกาซัน นับได้เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องงานแปลภาษาต่างประเทศที่มากประสบการณ์ อัลลอฮฺได้ประทานความสามารถในงานแปลและเรียบเรียงเนื้อหาหนังสือเล่มนี้ได้อย่างลงตัวและเหมาะกับสถานการณ์ที่ประชาชาติอิสลามกำลังอ่อนแอในเรื่องดังกล่าวอย่างยิ่ง

ผู้เขียนคือท่าน (Muhammad Atiyah Al-Ibrashi) ได้เสนอให้เราเห็นว่าการศึกษานั้นมีความหมายและบทบาทลึกลงไปมากมายกว่าที่เราคุ้นเคยกันอยู่ในสังคมบ้านเรามากนัก และหากมองกันในแง่ของความเป็นจริงตามเนื้อหาในหนังสือที่นำเสนอแก่เรา ก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันการศึกษาของเรายังไม่ได้ตอบโจทย์หรือถอดรหัสได้ตามเป้าหมายของอิสลามที่แท้จริงเลยนอกจากส่วนน้อยเท่านั้น

แม้การศึกษาจะเป็นประเด็นสำคัญทางสังคมและเป็นวาระที่อัล-กุรอานเลือกที่จะตอบปริศนาของการเป็นนบีของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)โดยการประทานโองการแรกเป็นโองการที่ระบุเรื่องของการศึกษา คือคำว่า ‘จงอ่าน’ แต่เกือบจะไม่มีนักการศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาหรือครูบาอาจารย์ท่านใดที่ตระหนักและหันมาสนใจเรื่องการศึกษาในอิสลามอย่างจริงจัง และวิเคราะห์ถึงสาระต่างๆของเรื่องนี้อย่างที่ศัตรูของเราได้ทำกันจนพวกเขาสามารถที่ค้นพบพลังอำนาจและศักยภาพของประชาชาติของตนที่ซ่อนอยู่ในการศึกษาจนรุดหน้าประชาชาติอิสลาม พวกเรารับรู้เรื่องการศึกษาและสร้างโอกาสใช้มันไปเพียงเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า(พาณิชย์วิชาการ) ไม่มีโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาแห่งใดที่เชิญชวนและระดมนักวิชาการที่มีความเข้าใจเรื่องการศึกษาในอิสลาม ให้ทำการผ่าตัดและเสนอทางออกดังที่อิสลามต้องการ นอกจากส่วนน้อยที่หันมาให้ความสนใจมากขึ้นว่าการศึกษาของเราปัจจุบันน่าจะหลงทางไปจากเส้นทางหลักของอิสลามไปมากแล้ว

การศึกษาไม่ควรจำกัดอยู่ในความหมายแคบๆอีกต่อไปและไม่ควรที่จะดำเนินการอย่างพละการโดยคณะผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รับใบอนุญาตหรือเจ้าของโรงเรียนเท่านั้น นั่นเพราะว่าการศึกษาเป็นศาสตร์ชั้นสูงเป็นองค์ความรู้ที่ซับซ้อนหลายมิติ มีการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวโยงกันอย่างเป็นองคาพยพที่หลากหลายและเกื้อหนุนกันอย่างมหัศจรรย์ ไม่มีใครที่สามารถบอกได้ว่าตนเป็นผู้สันทัดกรณีและชำนาญการเป็นพิเศษ แม้จะคร่ำหวอดอยู่กับสถาบันการศึกษามามากแค่ไหนก็ตาม และหากต้องข้องเกี่ยวกับอนาคตของเยาวชนหนุ่มสาวด้วยแล้ว นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายภารกิจการศึกษาของทุกสถาบันมากกว่าที่คาดเดาเอาไว้มากมายหลายเท่าตัว

เท่าที่เราสังเกตมาเป็นเวลานาน การศึกษาโดยเฉพาะสถาบันการศึกษาศาสนาอิสลามในบ้านเรายังเป็นไปในลักษณะ ’ลอกเลียนแบบ’ หรือ ‘การถอดแบบ’ หรือ ‘การเอาอย่าง’ จากต้นตำหรับที่สับสนทางวิชาการซึ่งปรัชญาและเนื้อหาสาระส่งตรงมาจากโลกตะวันตก อย่างรถมอเตอร์ไซค์ที่กำลังทดลองสมรรถนะเครื่องยนต์ว่าจะวิ่งบนถนนลูกรังในเมืองไทยได้ไกลแค่ไหน หนังสือเล่มนี้จะชี้ทางให้เราเห็นอย่างโดดเด่นว่าอิสลามได้เปลี่ยนแปลงมนุษย์ด้วยสารัตถะคำสอนที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อผู้เรียนตลอดจนวิธีการ กระบวนการและแรงบันดาลใจอย่างไร

การศึกษาที่ไม่อาจทำให้คนเรามีจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมทางศาสนาในชีวิตประจำวันและวิถีชีวิตนอกห้องเรียนของผู้เรียน ไม่มีอิทธิพลของคำสอนจากศาสนาเข้าไปกำกับพฤติกรรมของเขาทุกย่างก้าวแล้ว การศึกษานั้นก็เป็นสิ่งที่ไร้คุณค่าและไม่มีความหมายใดๆต่อมนุษย์อีกต่อไป และนี่คือภารกิจอันดับแรกของการศึกษาในอิสลามที่จะต้องปลูกฝังลักษณะดังกล่าวลงไปในสายเลือดแห่งการเป็นมนุษย์ของเยาวชนคนรุ่นใหม่

แม้จะเป็นหนังสือเล่มเล็กไม่หนาอย่างที่ควรจะเป็น เพราะเรื่องการศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกฝ่ายกำลังให้ความสนใจอย่างมากในสังคมปัจจุบัน หากผู้อ่านได้อ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ก็จะเห็นว่าเป็นหนังสือที่นำเสนอขอบข่ายได้ตรงประเด็นมีความหลากหลาย และมีความครอบคลุมมากทีเดียว และนับว่ายังไม่มีหนังสือเล่มใดในเมืองไทยที่เจาะจงเรื่องนี้ได้อย่างแท้จริงในรูปแบบหนังสือวิชาการแนวตลาดที่เหมาะแก่ครูหรือนักวิชาการมือใหม่ทั้งหลาย

หากมองในเชิงวิเคราะห์ต่อความตกต่ำและความเปลี่ยนแปลงในด้านลบของมุสลิมในปัจจุบันโดยโยงใยกับการศึกษาในสถาบันต่างๆที่ได้เสนอตัวเองรับใช้ประชาชาติอิสลามทางวิชาการ เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าล้วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่อ่อนแอและหลงทาง นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และต่อมาอาการพิการทางปัญญาและอัมพาตทางความคิด ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นการแตกแยกทางความเชื่อหลงใหลในชาตินิยมมัวเมาในวัตถุก็แสดงออกมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่พ้นไปจากแผนการของศัตรูที่วางแผนเอาไว้อย่างแยบยลเป็นระบบและมีการใช่งบประมาณมหาศาลเพื่อดับรัศมีแห่งอิสลามให้สิ้นซาก

ความเปลี่ยนแปลงและความยิ่งใหญ่ของอิสลามจะกลับคืนสู่ประชาชาตินี้อีกครั้งหนึ่งก็ด้วยการหวนกลับสู่เส้นทางเดินที่มีชื่อว่า ”การศึกษาและการขัดเกลาจิตวิญญาณแบบอิสลาม” ที่แท้จริง ทั้งในแง่ของศาสตร์ทางปรัชญา วิธีการ และเป้าหมาย และนี่เป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา การอบรม การฝีกฝนชีวิตอิสลามให้แก่ลูกหลาน เยาวชนมุสลิม คุณครู ผู้ปกครอง บิดา มารดา ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านจะต้องหันมาสนใจ และมาทุ่มเทสรรพกำลังทุกอย่างเพื่อการปฏิรูปการศึกษามากกว่าที่จะคิดคำนวณเพียงค่าหัวรายปีแล้วปล่อยให้ทุกอย่าง เป็นภาระของสังคมโดยหาใครรับผิดชอบไม่ได้เลย

เราหวังเหมือนที่ผู้เขียนวิงวอนต่ออัลลอฮฺในช่วงท้ายของหนังสือถึงความคาดหวังที่สูงส่งนั้นด้วย และเราจะได้เห็นความสำเร็จของประชาชาตินี้ ท่ามกลางการเสียสละและการอุทิศตนของผู้ที่มีความตระหนักในภารกิจนี้ด้วยการช่วยเหลือของอัลลอฮฺอีกครั้ง อามีน

อับดุลมาลิก อิสมาอีล มูเก็ม
บ้านโฮ๊ะ / รอบิอุษษานี 1433

-โครงการ จัดพิมพ์หนังสือเก่าร่วมสมัย-

นับตั้งแต่พวกเราได้ก้าวเข้าสู่วงการช่างทำหนังสือ เรามีความเชื่อมั่นอยู่เสมอว่า หนังสือคือสิ่งประดิษฐ์ที่น่าทึ่งและน่าอัศจรรย์ที่สุดในประดาสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายแหล่ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นตลอดช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าหนังสือ อาจมิได้เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิตมนุษย์ก็ตาม แต่สิ่งประดิษฐ์นี้กลับมีอายุยาวนานและเป็นเครื่องมือสำหรับกลุ่มชนในประวัติศาสตร์หลายต่อหลายกลุ่มทีเดียว ที่ใช้มันเป็นอาวุธทางความคิดเพื่อเดินเครื่องอุดมการณ์อันบรรจุความใฝ่ฝันสูงสุดไว้ในนั้น

อิสลามเป็นศาสนาแห่งวิชาการ มีเหตุและผลที่ครบถ้วนจากอัลลอฮฺ ผู้เป็นเจ้าของสวนสวรรค์ในโลกหน้า ประวัติศาสตร์อิสลามเดินเครื่องด้วยหนังสือเล่มเดียวและอีกหลายเล่มข้างเคียงตลอดมา อัลกุรอานเคยถูกชูขึ้นเหนือศรีษะของเหล่าบรรพชนอิสลามผู้ออกสู่สมรภูมิรบ ในกลางคืน พวกเขาศึกษาข้อเขียนที่บรรจุอยู่ในนั้น ทำความเข้าใจกับมัน และจักไม่ยอมปล่อยให้เพียงบรรทัดเดียวภายในนั้นหลุดห้วงไปจากความคิดและความทรงจำ จนกว่าพวกเขาจะนำข้อความนั้น มาปฏิบัติ เรายังมีบรรดาหนังสือหะดีษเล่มโตซึ่งบันทึกคำพูดของท่านนบี เป็นของขวัญอันล้ำค่ายังไม่นับตำรามากมายของเหล่าอุลามาอฺ ซึ่งแม้แต่หนังสือ “ฟาตาวา อัลกุบรอ” หนังสือฟัตวาปัญหาศาสนาเล่มใหญ่ของชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ อุลามาอฺมุญาฮิดีนคนสำคัญในอดีตก็ยังถูกใช้อ้างอิงและผลิตซ้ำจนถึงยุคปัจจุบัน

โครงการจัดพิมพ์หนังสือเก่าในอดีต ถือเป็นการซื้อขายครั้งสำคัญสำหรับพวกเรากับอัลลอฮฺ เพื่อแลกกับสวนสวรรค์อันเป็นสุดยอดสินค้าในโลกหน้า หนังสือเก่าในอดีตบางเล่มซึ่งไม่มีการผลิตซ้ำแล้วนั้น บรรจุไว้ซึ่งเนื้อหาสาระที่ยังคงทันสมัย และควรอย่างยิ่งที่พี่น้อง โดยเฉพาะเหล่าเยาวชนร่วมสมัยกับพวกเรา ควรที่จะหยิบมาอ่าน และทบทวนรสชาติอันหอมหวาน ความขมขื่น และความฮึกเหิมนั้นอีกครั้ง หลังจากที่มันถูกลืมเลือนด้วยกาลเวลาและความไม่เอาไหนของเยาวชนรุ่นเรา

หนังสือบางเล่มมีชีวิต ในนั้นมีรอยยิ้มและความเศร้าของเหล่าบรรพชนผู้รักอิสลาม เราจึงขายโครงการนี้แด่อัลลอฮฺ และหวังว่าผู้อ่านจะร่วมกันเดินเคียงข้างไปกับเรา ติดตามเล่มต่อไปในคราวหน้า ด้วยใจรักในอิสลาม อินชาอัลลอฮฺ

 

หมีมลายู
โครงการจัดพิมพ์หนังสือเก่าร่วมสมัย