ส่งต่อความโง่เขลาอวิชชา‬

61

‪#‎ส่งต่อความโง่เขลาอวิชชา‬
ภาพของ อิมาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ (เราะหิมะฮุลลอฮฺ)
.
วันนี้ตอนกลับบ้าน แวะเข้าห้างไปอ่านหนังสือที่ร้านหนังสือมาครับ เจอหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ ‘เลือดเช็ดเชเชน’ เขียนโดย พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์ หนังสือใหม่ น่าอ่านหรือเปล่าไม่ทราบ แต่เราเปิดๆดูแต่รูป เราเป็นมุสลิมมลายู ไม่ชอบอ่าน ชอบดูมากกว่า
.
ไปเจอรูปหนึ่งในหน้า 166 หัวข้อ ‘ลัทธิอิสลามหัวรุนแรง’ เห็นหัวข้อแล้ว ท่าทางตอนเขียนคงจะสะใจน่าดู..หรือเปล่า? แต่ช่างเถอะ ความน่าสนใจอยู่ที่รูปประกอบหัวข้อที่เขาอ้างว่าเป็นรูปของอิมาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ครับ จากรูป คนยืนที่ 4 จากซ้าย สารบั่นขาวล้วน มีเคราดำแสมขาวนั่นละครับ
.
ไม่ใช่ไร ปกติจะเห็นการอ้างรูปนี้แต่ในเวบมุสลิมคณะเก่า (ขออภัยที่ต้องใช้คำนี้) บางคน ชีอะฮฺ และ กลุ่มซูฟี ซึ่งแต่ละกลุ่มก็อ้างสลับไปมา บ้างก็บอกว่าคนที่ 2 จากซ้าย บ้างก็บอกว่าคนที่ 4 จากซ้ายต่างหากเล่า ส่วนคนที่สองจากซ้ายน่ะ มุฮัมมัด สะอูด (ผู้ก่อตั้งซาอุ) ในเวบกลุ่มเหล่านี้ถึงจะคิลาฟไปบ้างว่าตกลงคนไหนกันแน่คือ มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ (จะได้หลอกคนอื่นถูก) ที่สำคัญคือจะมีจุดร่วมว่า มีการเลเบลคนขวาสุดเลยน่ะคือ Sir. percy cox อันนี้ไม่คิลาฟ (ส่วนซ้ายสุดก็เลเบลไปว่าเป็นนายพลเบดูอิน ชื่อไรไม่บอก, คนนั่งอยู่ท่าทางมีระดับก็เลยเลเบลไปว่าเจ้าชายฮูเซ็นละกัน ไม่รู้ฮูเซ็นไหนอีก…) คือ Sir. percy cox มีอยู่จริงครับ เป็นผู้แทนบริเตน-อินเดีย ก่อนจะมีประเทศซาอุเช่นทุกวันนี้ ซึ่งคณะเก่า, ซูฟี, ชีอะฮฺ ทั้ง 3 เกลอนี้ ต้องการจะอธิบายว่า ‘เนี่ย รูปนี้คือยืนยันว่า หัวหน้าวะฮาบี มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, มุฮัมมัด บิน สะอูด, และกาฟีร เซอร์ เพอซี่ คอกซ์ ร่วมมือกันยึดแผ่นดินหะรอม!!’
.
เราสงสารคนเขียนหนังสือ ‘เลือดเช็ดเชเชน’ อยากตำหนิ แต่ก็นะ เขาก็คนรับข่าวสารทั่วไปที่ ‘ไม่รู้’ แต่คนต้นตอแอบอ้างจนคนทั่วโลกที่ไม่ใช่มุสลิม และไม่ได้เห็นว่าจำเป็นต้องสืบหาข้อเท็จจริงก็ก็อปเอามาส่งต่อๆอีกนั้น (ต่างจากมุสลิมที่ต้องสืบหาก่อน เพราะไม่งั้นจะติดข้อหาใส่ร้ายและกล่าวหามุสลิมด้วยกัน ดูอัลกุรอานซูเราะฮฺ อัลหุญุรอต : 6) คือคนต้นตอเนี่ยต้องเรียกว่า ‘โง่เขลา’ เพราะกระทำไปด้วยอคติ อารมณ์และอวิชชาล้วนๆ
.
จริงๆการสืบหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องยากเลย อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ก็ทำได้แล้วครับ มาดูกันว่าจะพิสูจน์ว่ารูปนี้คือการโกหกคำโตของ 3 เกลอลูกหลานผู้เสียผลประโยชน์จากการกราบไหว้กูโบร์ในศตวรรษที่ 18 ยังไง
.
นี่คือข้อมูลสำคัญนะ..
อิมาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ เกิดและจากไปปี 1701-1793. ครับ
ส่วน Sir. percy cox เกิดและจากไปปี 1864-1937 ครับ
ที่สำคัญเทคโนโลญีการถ่ายภาพและภาพแรกในปฐพีมีขึ้นในปี 1826 ครับ
(ไม่ต้องไปขุดลายแทงที่ไหน ในอินเทอร์เนตมีข้อมูลให้ค้นอ่านนะ)
.
เราจะเห็นว่า อิมาม มุฮัมมัด มีชีวิตในศตวรรษที่ 18 (ส่วนปีเกิดปีตายมีหลายกระแส แต่ไม่ไกลจากนี้) และ เซอร์เพอซี่ คอกซ์ มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 19-20 และเทคโนโลญีการถ่ายภาพก็เพิ่งขึ้นหลักการจากไปของอิมามมุฮัมมัด 33 ปี อีกทั้ง เซอร์ เพอซี่ คอกซ์ ก็เกิดหลัง อิมาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ตั้ง 71 ปีเชียวละ คือคนละยุคเลยครับ โยงมั่วไปหมดเลยนะ
.
ที่น่าขบขันไปกว่านั้นคือ รูปที่เขาอ้างว่าเป็นเซอร์ เพอซี่ คอกซ์ คนยืนขวาสุดนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ รูปจริงๆคือหน้าฝรั่งเลยละ ค้นหาได้ ไม่ได้อยู่ใต้พีระมิด หรือในโลงศพของฟาโรห์ตุตันคาเมนแต่อย่างใด
.
ที่เล่ามาไม่ใช่ไร ไม่ได้จะว่าคุณ พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์ แต่แค่รู้สึกเห่ยยังไงพิกล กับ 3 เกลอที่ยังคงเล่นเรื่องนี้กันเต็มที่ จนคนที่ไม่ใช่มุสลิมก็เอาไปใช้ต่อๆกันไป แม้แต่ในเวลานี้ ไปดูในเพจหรือหนังสือของคนเหล่านี้ได้
.
นี่แหละ ทำไมเราถึงต้องเรียนสามัญบ้าง รู้จักวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์บ้าง มีเหตุมีผล มีการค้นคว้าอย่างเป็นขั้นเป็นตอนบ้าง อย่าคิดแค่ว่าอยู่ปอเนาะท่องคำว่าวะฮาบี หรือท่องยาฮูเซ็นยาอะลี หรือกระโดดโลดเต้นในมัสยิดแล้ว จะได้ครอบครองความเป็นวิชาการอิสลามที่แท้จริงได้ มันไม่ง่ายขนาดนั้นครับ ฝากถึงตนเองและทุกๆคน ช่วยๆกันส่งต่อก็ดีครับ

62
บุคคลที่ผู้เขียนอ้างว่าคืออิมาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ

63
อันนี้ก็อิมาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ (จากเวบซูฟี)

64
อันนี้มีการเลเบล (ดูจากกราฟิกแล้ว น่าจะเพิ่งทำไม่นานนี่แหละ)

65
Sir. Percy Cox

66
ข้อมูลจาก Wiki ประวัติศาสตร์เทคโนโลญีภาพถ่าย (ภาษามลายู-รูมี)
.
เปิดตัวหนังสือ ‘เชือดเช็ดเชเชน’ :
http://www.mbookstore.com/…/สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์-จัดงานเป…/

เชือดเช็ดเชเชน: Part I Days Before :
http://pantip.com/topic/31253996

ตย.ต้อตอจากคณะเก่า :
http://www.inilah-salafi-takfiri.com/

ตย.ต้อตอจากซูฟี :
http://www.haqqanisoul.com/…/ibn-abdel-wahab-wahabism-fonde…

ตย.ต้นตอจากชีอะฮฺ :
http://indosyiah.blogspot.com/…/dari-muhammad-bin-abdul-wah…

Sejarah fotografi (ประวัติศาสตร์ภาพถ่าย) :
http://id.wikipedia.org/wiki/Fotografi